![]() |
เดิมวัตถุโบราณเหล่านี้เก็บรักษาไว้ที่คลังเก็บสิ่งอุปกรณ์หลายแห่ง เช่น เครื่องลายคราม เครื่องกระเบื้องเคลือบ เครื่องแก้ว และเครื่องโลหะ เก็บรักษาไว้ที่คลังกองเกียกกาย บางโพ ส่วนเครื่องแต่งกาย เครื่องสนาม และอุปกรณ์สายพลาธิการอื่น ๆ เก็บรักษาไว้ที่ แผนกธุรการ กรมพลาธิการทหารบก ในศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม และคลังวัดโพธิ์ ปากคลองตลาด |
![]() |
สำหรับวัตถุโบราณที่จัดแสดงนั้น ทางพิพิธภัณฑ์ กรมพลาธิการทหารบก ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้านนอกจัดแสดง เครื่องแต่งกายทหารบกและสิ่งอุปกรณ์สายพลาธิการในอดีต |
![]() |
ส่วนด้านในจัดแสดง เครื่องลายคราม ภาชนะดินเผา เครื่องกระเบื้องเคลือบ เครื่องแก้ว และเครื่องโลหะ เช่น |
เครื่องลายครามและภาชนะดินเผา ที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ กรมพลาธิการทหารบก นั้น ส่วนใหญ่เป็นของที่ทำขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลายเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พอจะจำแนกได้ ดังนี้ |
![]() หม้อน้ำลายคราม |
![]() อ่างน้ำลายคราม |
![]() ถ้วยน้ำชา และ กาน้ำลายคราม |
![]() กาน้ำชา และ ปั้นชา |
เครื่องลายครามที่กล่าวมานี้ ส่วนใหญ่จะเขียนลายเป็นรูป ตนหาฟืน นักปราชญ์ ภาพวิว ลายรูปสัตว์ เช่น มังกร กิเลน (ม้าผสมมังกร) สิงโต ไก่ฟ้า เป็ด ลายพันธ์พฤกษา มีลายดอกเบญจมาศ ลายก้านขดคู่กับดอกโบตั๋น ลายพวกนี้จะอยู่ที่ตัวภาชนะ ส่วนลายประแจจีน ลายไข่มุก ลายหัวยู่อี ลายดอกบ้วย ลายใบกล้วย กลีบบัว จะตกแต่งอยู่ที่ส่วนปากหรือส่วนก้นของภาชนะ นอกจากนี้ยังมีลายอักษรจีนที่เขียนประวัติและคำสอนของนักปราชญ์ ชาวจีน เป็นต้น |
เครื่องกระเบื้องเคลือบ เครื่องแก้วและเครื่องโลหะ จากการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป ขณะเดียวกันได้มีการส่งพระราชโอรสและข้าราชการไปศึกษายังต่างประเทศเมื่อสำเร็จการศึกษากลับมาบางท่านเข้ารับราชการทหาร จึงมีการสั่งซื้อเครื่องกระเบื้องเคลือบ เครื่องแก้ว และเครื่องโลหะมาใช้ กรมยกกระบัตรทหารบกและ กรมเกียกกายทหารบก สมัยนั้นซึ่งมีหน้าที่จัดหาภาชนะและจัดเลี้ยงให้กับเจ้านายชั้นสูงและกองทัพ จึงมีการสั่งซื้อและสั่งทำเครื่องกระเบื้องเคลือบ เครื่องแก้ว และเครื่องโลหะ จากยุโรปและสหรัฐอเมริกามาใช้ กล่าวคือ เป็นการออกแบบส่งไปสั่งทำที่ยุโรป เช่น |
1. ชุดอาหารกระเบื้องเคลือบที่มีอักษรพระบรมนาภิไธยย่อ สพปทจ.5 อันเป็นนาม "สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ รัชกาลที่ 5" ซึ่งทรงใช้ในระหว่างครองราชระยะแรก ๆ ราว พ.ศ.2413 ก่อนที่จะทรงเปลี่ยนเป็น จ.ป.ร.
|
![]() |
![]() |
2. ชุดอาหารกระเบื้องเคลือบสีขาว ที่มีเคื่องหมายจักรภายในมีรูปพระเกี้ยวอยู่ตรงกลาง และมีอักษรเขียนว่า กรมทหารบก มีอายุประมาณ พ.ศ. 2433 ถึง พ.ศ. 2475 |
![]() |
3. ชุดอาหารกระเบื้องเคลือบ มีรูปหน้าเสืออยู่ตรงกลางระหว่างคำว่า "กองเสือป่า" กับคำว่า "กรุงเทพ" ด้านล่างพิมพ์คติพจน์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่เสือป่าและลูกเสือว่า "เสียชีพอย่าเสียสัตย์" เป็นชุดกระเบื้องเคลือบที่ทำขึ้นใช้ในกิจการเสือป่า สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสั่งทำจากบริษัท COPELAND ประเทศอังกฤษ กรมเกียกกายทหารบก ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดเลี้ยงได้นำมาใช้ระหว่างการฝึกซ้อมการประลองยุทธ ประมาณ พ.ศ. 2454 ถึง พ.ศ. 2468 |
4. ชุดล้างหน้ากระเบื้องเคลือบ ประกอบด้วย ชามอ่างใส่น้ำ เหยือกใหญ่ เหยือกเล็ก ที่ใส่สบู่ ที่ใส่แปลงถูฟัน และกระโถน เขียนลายดอกไม้สีต่าง ๆ เคลือบดีบุกใส สั่งซื้อจากประเทศอังกฤษ ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ 6 |
![]() |
![]() |
5. ชุดจัดเลี้ยงแก้วเจียรไน ประกอบด้วย แจกัน ถาดใส่ผลไม้ ชาม ที่เขี่ยบุหรี่ เหยือกน้ำแข็ง เหยือกน้ำ แก้วน้ำ พาน และโถใส่ของ ซึ่งเป็นเครื่องแก้วเนื้อดีจากยุโรป |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
6. เครื่องโลหะ ประกอบด้วย ชุดล้างหน้าโลหะ ชุดน้ำชาลายชื่องกระจก ชุดน้ำชาเงินดุน โถใส่ข้าวมีพระบรมนามาภิไธยย่อ สพปมจ.5 เหยือกใส่นม มีพระบรมนามาภิไธยย่อ จปจ. ถังใส่น้ำแข็ง ซึ่งมีการสั่งซื้อและสั่งทำจากยุโรป |
สำหรับเครื่องแต่งกายทหาร เครื่องสนามและอุปกรณ์สายพลาธิการที่จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ กรมพลาธิการทหารบก แห่งนี้มีหลายอย่างที่หาดูได้ยาก เช่น |
1. หมวกเหล็กแบบฝรั่งเศส และเครื่องแบบพร้อมเครื่องสนามและหน้ากากป้องกันไอพิษ เป็นของที่เริ่มมีใช้ครั้งแรกเมื่อครั้งที่กองทัพไทยเข้าร่วมรบกับกองทัพสัมพันธมิตรในคราวสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2461) ณ ประเทศฝรั่งเศส และใช้เรื่อยมา จนถึงสงครามเกาหลี (พ.ศ. 2493) |
![]() ![]() |
2. หมวกแฮลเม็ต ยอดครุฑ โลหะชุบทองและโลหะเงินทหารรักษาพระองค์ เป็นของที่ใช้ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
![]() ![]() |
3. เครื่องหมายแสดงยศอินทรธนู ยศร้อยเอก ทหารปืนใหญ่ (พื้นสีเหลืองมีจักร 3 จักร) และอินทรธนูแข็ง ยศร้อยโท ทหารม้า (พื้นสีน้ำเงินมีจักร 2 จักร) เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2411 ถึง พ.ศ. 2475 |
![]() |
4. เครื่องหมายแสดงยศ บั้งนายสิบกองพันทหารราบที่ 9 ทหารรักษาวังในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะเป็นบั้งพื้นสีแดงชาด มีแถบทองประกอบกับตราพระมหามงกุฎเพชราวุธอยู่เหนือบั้ง |
![]() |
![]() ![]() ![]() |